Posted in ข่าวเด่น, ข่าวเด่นด้านบน, ข่าวเด่นตรงกลาง, ข่าวแนะนำ, บันเทิง ช่อง 3 เปิดตำราพงศาวดารสามก๊ก ค้นประวัติสุมาอี้ สุดยอดกุนซือ ในซีรีส์ดัง “สุมาอี้ นักปราชญ์ยอดขุนพล” ดารา วาไรตี้ ตุลาคม 14, 2565 ช่อง 3 เปิดตำราพงศาวดารสามก๊ก ค้นประวัติสุมาอี้ สุดยอดกุนซือ ในซีรีส์ดัง “สุมาอี้ นักปราชญ์ยอดขุนพล” ช่อง 3 ชวนแฟน ๆ ร่วมเปิดตำราพงศาวดารสามก๊ก สืบค้นประวัติของสุมาอี้ สุดยอดกุนซือ ในซีรีส์ประวัติศาสตร์ “สุมาอี้ นักปราชญ์ยอดขุนพล” เชื่อว่าใครหลาย ๆ คนคงเคยอ่านหนังสือสามก๊ก ที่นับว่าเป็นหนังสือประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณค่า สุมาอี้คือหนึ่งคนที่ปรากฏในพงศาวดารสามก๊ก ด้วยความเป็นคนฉลาด เด็ดขาด สุขุม ทำให้เขาก้าวขึ้นเป็นแม่ทัพใหญ่แห่งวุยก๊กได้สำเร็จ โดยในซีรีส์เรื่องนี้ได้ถ่ายทอดชีวประวัติของสุมาอี้ให้ได้รับชมกันในอีกมุมมองที่หลาย ๆ คนไม่เคยรู้ และได้นักแสดงชั้นนำของวงการบันเทิงจีนมาร่วมแสดงในซีรีส์แห่งประวัติศาสตร์นี้กันมากมาย ไม่ว่าจะเป็น นักแสดงรุ่นใหญ่ “อู๋ซิ่วปัว” ที่มารับบท “สุมาอี้” ปะทะกับ “หยูเหอเหว่ย” รับบท “โจโฉ” ร่วมด้วย ดาราสาว “หลิวเทา” ผู้รับบท “จางชุนหัว” ภริยาเอกของสุมาอี้ และ “จางจวินหนิง” รับบท “ไป่หลิงอวิ๋น” ภริยารองของสุมาอี้ “สุมาอี้ นักปราชญ์ยอดขุนพล” เล่าขานถึงเรื่องราวของสุมาอี้ เดิมทีเป็นบัณฑิตขี้อาย เฉลียวฉลาด แต่ต้องถูกโจโฉบีบบังคับให้เข้ารับราชการภายใต้อำนาจของตระกูลโจ สุมาอี้ได้กลายเป็นที่ปรึกษาแห่ง วุยก๊กที่โจโฉไม่เคยไว้ใจ และคอยเตือนคนรอบข้างให้ระวังสุมาอี้เสมอ แต่ด้วยไหวพริบของสุมาอี้ทำให้เขาค่อย ๆ มีอำนาจมากขึ้น และประสบความสำเร็จอย่างมาก จนเกิดเป็นความขัดแย้งของสองขั้วอำนาจในวุยก๊ก ติดตามชมเรื่องราวประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของสุมาอี้ สุดยอดกุนซือแห่งพงศาวดารสามก๊ก ได้ในซีรีส์จีน สุมาอี้ นักปราชญ์ยอดขุนพล ออกอากาศทุกจันทร์-อาทิตย์ เวลา 02.50 น. เริ่มวันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม 2565 ทางช่อง 3 กด 33 Author: ดารา วาไรตี้ Related Articles สวยมงลง!☆น้องเทวี ฤาชนก☆ ตัวเต็งเวทีประกวดนางสาวไทย จังหวัดชลบุรี ดีกรีนักเรียนทุนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกรียตินิยมอันดับ 1 เดอะแก๊งค์ดาว TikTok คัมแบ็ค เรียกน้ำย่อยก่อนดู “ดวงตาที่3” ที่จะออกอากาศทางช่อง 3ของผู้จัดฯ หน่อย บุษกร เรื่องนี้! ต้องขยี้ กับ สายฝน ชีช้าง Weekly ขยี้… พรหมลิขิต ศึกชิงแชมป์ Rapper แห่ง อยุธยา วช. เปิดบ้านแถลงข่าว “วันนักประดิษฐ์” และ “รางวัลการวิจัยแห่งชาติ” ปี 2567